สรุปการประชุมคณะกรรมการมูลนิธิเพื่อเมืองและชุมชุนยั่งยืน ครั้งที่ 8/2565
วันที่ 21 พ.ย.65 เวลา 13.30 -1600 น.ณ ห้องประชุม สมาคม สพบ. (ส่วนวาระพิจารณาอย่างไม่เป็นทางการ)
1.โครงการผู้นำชุมชนแห่งอนาคต เพื่อพัฒนาชุมชนให้ยั่งยืนทั้ง 10 เขต ซึ่งแต่ละชุมชนได้ดำเนินการไปได้ด้วยดี มีการปรับเปลี่ยนให้เหมาะสม ซึ่งจะมีการประเมินผลงาน หรืออาจจัดใหัมีการประกวดผลงาน ช่วงปลายเดือน ธันวาคม 65 นี้
2.การสร้างอัตลักษณ์ชุมชน 10 เขตกรุงเทพตะวันออก” โดยเริ่มที่ “สร้างอัตลักษณ์ชุมชนบางกะปิ” เสนอให้มีการจัดโครงการ “ภาพเก่าเล่าเรื่อง” ให้มีการแสดงภาพเปรียบเทียบสถานที่สำคัญแต่ละสถานที่ ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงจากภาพเก่าจนถึงภาพปัจจุบัน โดยมีการเล่าเรื่องการเปลี่ยนแปลงในรูปแบบต่างๆ ให้น่าสนใจ โดย ทาง คุณสนิตา จิตรมีศิลป์ จะจัดทำโครงการนำเสนอต่อไป
3.จากการที่มูลนิธิฯ ได้ร่วมกิจกรรม “นิด้าร่วมใจช่วยภัยน้ำท่วมอุบลราชธานี” โดยรวบรวมเงินบริจาคได้ 300,000 กว่าบาท จัดทำถุงยังชีพ ได้ 700 ชุด นำไปมอบให้ผู้ประสบภัยน้ำท่วม โดยได้รับการประสานงานด้วยดีจากศิษย์เก่า รศ.และ พค. ในพื้นที่อุบล จัดสรรแบ่งปันเป็น
ที่เรียบร้อย ซึ่งมีโครงการต่อเนื่อง เสนอให้มีการจัดงานวิชาการระดมสมองจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับเรื่องน้ำท่วมโดยสถาบันนิด้าเป็นสื่อประสานหาวิธีการแก้ไขและป้องกันการน้ำท่วมในจังหวัดอุบลราชธานีและพื้นที่ข้างเคียง อย่างยั่งยืน
4.การจัดอบรม “ศิลปะการนำเสนอสินค้าชุมชนทั้งแบบ online และ onground” เพื่อพัฒนาคนในชุมชนทั้ง 10 เขต กทม.โซนตะวันออก ให้สามารถนำเสนอสินค้าได้อย่างมืออาชีพ และสามารถนำไปจัดรายการใน social media ของตนเองหรือของชุมชนหรือจัดให้มี รายการสดในช่อง youtube หรือสื่อของมูลนิธิต่อไป ซึ่งจัดให้มีการอบรมในวันที่ 22-23 พฤศจิกายน 2565 โดย ผศ.ดร.แตงอ่อน มั่นใจตน เป็นประธานเปิดงาน ,วิทยากร ดร.ประดิษฐ์ กิตติฤดีกุล และ พลเอกธีระเดช ฉัตรเสถียรพงศ์ ประธานมูลนิธิฯ มอบวุฒิบัตรและกล่าวปิดงาน ณ ห้องประชุมชั้น 5 อาคารราชพฤกษ์ โดยอนุมัติงบประมาณ 30,000 บาท
5.การจัดกิจกรรม”ตลาดพอเพียงและเสียงเพลงจากชุมชน” ในวันอาทิตย์ที่ 27 พฤศจิกายน 2565 ระหว่างเวลา
13.00-22.00 น.เพื่อเป็นการต่อยอดนำความรู้จากการอบรม “ศิลปะนำเสนอสินค้าชุมชน” มาออกร้านสินค้าชุมชน ทั้ง 10เขต ประมาณ30ร้าน ซึ่งโครงการนี้ มุ่งสร้างสรรค์กิจกรรมหลายอย่างที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชนทั้งรูปแบบการให้ความรู้และความบันเทิง คือ มีการฝึกสอน
อาชีพและบริการชุมชน การบริการตัดผม วัดสายตามอบแว่น การแสดง การเล่นดนตรี ของกลุ่มต่างๆทั้งเด็ก เยาวชน และประชาชน
6.สืบเนื่องจาก งาน ช้อป ชิม ชม ของดี 10 เขต กทม.โซนตะวันอก ซึ่งประสบความสำเร็จด้วยดีเมื่อเดือน สิงหาคม ที่ผ่านมา ทางแฮปปี้แลนด์น้อมจิตต์ จึงจะจัดให้อีกครั้ง ใน ช่วงวันที่ 26-29 มกราคม ปี 2566 ซึ่งจะจัดเตรียมสถานที่ให้ออกร้านได้กว้างขวางกว่าเดิมและจัดเตรียมกิจกรรมที่น่าสนใจให้มากขึ้น
7.ในที่ประชุมเสนอให้จัดเตรียมโครงการต่างๆ ในปี 2566 นำเสนอเพื่อการพัฒนาเมืองและชุมชนยั่งยืนตามวัตถุประสงค์ของมูลนิธิ เช่นโครงการ”ชุมชนสีเขียว” ปลูกจิตสำนึกให้คนในชุมชนรักษ์สิ่งแวดล้อม หรือโครงการ”เยาวชนนักพูดรณรงค์รักษ์สิ่งแวดล้อม”เพื่อปลูกฝังให้เยาวชนไทยรู้จักรักษาสิ่งแวดล้อมและพัฒนาทักษะการพูดใหัสามารถเชิญชวนนักเรียนในโรงเรียนหรือจัดกิจกรรมรักษ์สิ่งแสดล้อม
8.จัดเตรียมการทำสัญญา บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ระหว่าง มูลนิธิ กับหน่วยงานต่างๆ เพื่อสร้างสรรค์งานเพื่อเมืองและชุมชนร่วมกัน เช่น
-สภาการแพทย์แผนไทย เพื่อส่งเสริมให้ชุมชนปลูกพืชสมุนไพร
-ธนาคารภาครัฐและวิสาหกิจ ฯลฯ เพื่อช่วยเหลือด้านการลงทุนในโครงการส่งเสริมชุมชนให้ยั่งยืน
9.นำเสนอรูปแบบ website ของมูลนิธิ เพิ่อพิจารณาและปรับปรุงให้สอดคล้องความต้องการและวัตถุประสงค์ของมูลนิธิ
10.การสนับสนุนโครงการจัดทาสีรั้ว ของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ซึ่งรอรูปแบบที่ชัดเจน เพื่อพิจารณาต่อไป
11.การสนับสนุนการจัดงานออกร้านกาชาดนิด้า ประจำปี 2565 โดยที่ประชุม อนุมัติสนับสนุนสลากกาชาดนิด้า 15 เล่ม และสนับสนุนของรางวัล “ตักไข่นิด้า”เป็นจำนวนเงิน 10,000 บาท
12.การสนับสนุนการจัดงานวิ่งการกุศล ต่อต้านการทุจริต วันต่อต้านคอร์รัปชั่นสากล ประจำปี 2565 วันที่ 10 ธันวาคม 65 ซึ่งอนุมัติสนับสนุนให้กรรมการมูลนิธิหรือเครือข่ายร่วมวิ่ง 10 คน ในระยะทางที่ต้องการ
โดยให้แจ้งชื่อ ภายใน 30 พฤศจิกายนนี้
13.การจัดการประชุมคณะกรรมการครั้งต่อไป วันที่ 19 ธันวาคม 65
ประดิษฐ์ กิตติฤดีกุล
รองเลขาธิการมูลนิธิ
สรุปการประชุม